เรื่องเสือโคร่ง


ชนิดของเสือโคร่ง

เสือโคร่งพันธุ์บาหลี
(Bali tiger) มีสีเข้มที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเสือโคร่งด้วยกัน พบในอินโดนีเชีย บาหลี ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งพันธุ์ แคสเปียน
(Caspain tiger) พบในอัฟริกาตอนเหนือ, อิหร่านตอนเหนือ, ตะวันออกของมองโกเลีย ตะวันออกของตุรกี พื้นที่ตอนกลางของรัสเซีย ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งพันธุ์อินโดไชนิส
(Indo-chinese tiger) เป็นเสือโคร่งที่มีลายมากแต่น้อยกว่าเสือโคร่งพันธุ์สุมาตรา มีสีเข้มปานกลาง พบในพม่า จีนตอนใต้ (แถบกัมพูชา ลาว คาบสมุทรมาเลเซีย และในไทย) ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 - 1,700 ตัว
เสือโคร่งพันธุ์จาวาน
(Javan tiger) พบในอินโดนีเชีย ชวา ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งพันธุ์รอยัล เบงกลอ หรือเบงกอล
(Benger tiger) เป็นเสือโคร่งที่รู้จักกันมากที่สุด และมีจำนวนมากกว่าพันธุ์อื่น พบใน
บังคลาเทศ, ภูฐาน, พม่าตะวันตกเฉียงเหนือ, อินเดีย, เนปาล, ปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 500 ตัว
เสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรีย
(Siberian tiger) เป็นเสือโคร่งที่ใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ทางเขตหนาว จึงมีขนหนามาก และมีสีจางกว่าพันธุ์อื่นๆ เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้มที่เป็นหิมะ พบในจีนตะวันออกเฉียงเหนือ เกาหลีเหนือ รัสเซียตะวันออก ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ
150 - 200 ตัว
เสือโคร่งพันธุ์เซ้าท์ไชน่า
( South china tiger) เป็นเสือที่มีลายพาดกลอนน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ พบในจีนตอนกลางและตะวันออก ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 30 - 80 ตัว
เสือโคร่งพันธุ์สุมาตรา
( Sumatran tiger) เป็นเสือโคร่งที่มีสีเข้มที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุด พบในอินโดนีเซีย, สุมาตรา ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 650 ตัว

พฤติกรรมของเสือโคร่ง

พฤติกรรมในการกำหนดอาณาเขต
เสือโคร่งจะทำการกำหนดอาณาเขตโดยการข่วนรอยไว้ตามต้นไม้ การพ่นน้ำปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อบอกอาณาเขต เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว เสือโคร่งไม่ใช่สัตว์สังคม มันจะอยู่อาศัยและล่าเหยื่อในอาณาบริเวณของมัน ถ้าเสือโคร่งตัวอื่นเข้ามาในอาณาเขตเมื่อดมกลิ่นก็จะรับรู้ และมักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และการต่อสู้ นอกจากนี้ปัสสาวะของเสือโคร่งตัวเมียยังสามารถบอกให้รู้ว่า เสือตัวเมียตัวนั้นอยู่ในระยะที่จะผสมพันธุ์ได้หรือไม่อีกด้วย
พฤติกรรมการผสมพันธุ์
ในช่วงฤดูการผสมพันธุ์เสือโคร่งจะอาศัยอยู่เป็นคู่ และเสือโคร่งเพศเมียที่เป็นสัด จะส่งเสียงร้องเป็นช่วงๆ เสือโคร่งตัวผู้จะดมกลิ่นน้ำปัสสาวะของเสือโคร่งตัวเมียที่อยู่ในละแวกนั้น หลังจากนั้นจะเริ่มติดตาม, เข้าหา และแสดงความสนใจเสือตัวเมีย โดยจะดมอวัยวะเพศ, ไซร์ตามซอกคอ หรือสีข้าง เสือโคร่งตัวผู้จะสังเกตุอาการของเสือโคร่งตัวเมียไปด้วยว่าจะยอมรับการเข้าหา หรือมีท่าที ตอบสนองหรือไม่ เมื่อตัวเมียยอมรับตัวผู้แล้ว จะยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับและทำการผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ เสือโคร่งตัวเมียจะแว้งกัดหรือตะปบเสือโคร่งตัวผู้
พฤติกรรมการเลี้ยงลูก
หลังจากที่ตั้งท้องได้ประมาณ 95 - 105 วันแล้ว ตัวเมียจะคลอดลูก เมื่อคลอดออกมา แม่จะเลียลูกจนเมือกที่หุ้มตัวแห้ง ซึ่งเป็นการกระตุ้นระบบหมุนเวียนในร่างกายของลูกด้วย ลูกเสือจะกินน้ำนมแม่ตั้งแต่กำเนิด แม้ว่าจะมองไม่เห็นในช่วง 7-10 วันแรก แม่เสือจะเริ่มหัดให้ลูกเสือกินเนื้อเมื่อลูกเสือมีอายุ ประมาณ 2 เดือน และลูกเสือจะหย่านมที่ประมาณ 5 เดือน ในช่วง 2 เดือนแรกแม่เสือจะลำบากที่สุดเนื่องจาก ต้องออกไปล่าเหยื่อและกลับมาเลี้ยงลูกเสือให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะลูกอ่อนไม่สามารถตามแม่เสือออกไปล่าเหยื่อได้ ลูกเสือโคร่งจะใช้ชีวิตในการเรียนรู้กับแม่เกือบ 2 ปี จึงแยกออกไปล่าเหยื่อโดยลำพัง
พฤติกรรมการล่าเหยื่อ


โดยปกติแล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่จะออกล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อมันหิว ในป่าบริเวณที่มีประชากรของสัตว์กินพืชมาก จะมีประชากรของเสือมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นไปตามระบบนิเวศน์นั่นเอง เสือโคร่งจะ ออกล่าเหยื่อที่มันประมาณได้ว่ามันสามารถล่าได้ คือจะไม่ล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เนื่องจากมีความเสี่ยง และอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่า
ขั้นตอนการล่าเหยื่อของเสือโคร่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ
การซุ่มดู และย่องเข้าหาเหยื่อ
การวิ่งไล่ และกระโจนเข้าใส่เหยื่อ
การตะปบเหยื่อ
การกัดเหยื่อ
เสือโคร่งจะทำการงับลำคอของเหยื่อ

ไม่นิยมงับหลังคอเนื่องจากเหยื่อส่วนใหญ่ของเสือจะเป็นสัตว์ที่มีเขา เช่น กวางชนิดต่างๆ หลังจากทำการล่าได้แล้ว เสือโคร่งจะเริ่มทำการกินเหยื่อ โดยเสือโคร่งมักจะกินเนื้อ บริเวณสะโพกก่อน หากกินไม่หมดเสือโคร่งจะทำการกลบเหยื่อ หรืออาจร้องเรียกเสือโคร่งตัวอื่นมากินต่อไป
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
เมื่อเสือโคร่งซึ่งเป็นสัตว์โดดเดี่ยวถูกนำมาเลี้ยงรวมกัน จะเกิดกระบวนการจัดลำดับชั้นทางสังคมขึ้น คือการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ในฝูง หากมีการแยกกัน 2 ฝูง เมื่อนำมาใส่ในพื้นที่เดียวกัน ก็จะมีการยกพวกเข้าต่อสู้กันเป็นต้น ในการเลี้ยงดูโดยมนุษย์ พฤติกรรมในการล่าเหยื่อของเสือโคร่งจะลดลง แต่หากทำการกระตุ้นพฤติกรรมก็จะสามารถแสดงออกมาโดยสัญชาติญาณการล่าได้เช่นกัน ข้อมูลของเสือโคร่งพันธุ์เบงกอล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris tigris
การแพร่กระจาย อินเดีย,เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า เมื่อ 60 ปีก่อนมีมากถึง 40,000 ตัว แต่ข้อมูลการสำรวจ ของ IUCN เมื่อเดือนมีนาคม 2537 พบว่ามีประชากรเสือโคร่งเบงกอลลดลงเหลือประมาณ 3,350-4,700 ตัว
ลักษณะทั่วไป เป็นเสือโคร่งพันธุ์ใหญ่ ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือเหลืองปนน้ำตาล แต่ละตัวมีลายแถบปรากฏบนหลัง และด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอเป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด
นิเวศน์วิทยาและพฤติกรรม
ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำ หรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน มักอาศัยในป่าลึกอากาศเย็น ว่ายน้ำ และขึ้นต้นไม้ได้แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้จะชอบว่ายน้ำมากกว่า ในวันที่อากาศร้อนๆ จะแช่อยู่ในน้ำได้หลายชั่วโมง เสือโคร่งชอบออกล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเย็น เรื่อยไป แต่ตอนกลางวันชอบนอนพักผ่อน
การสืบพันธุ์ ปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ ได้เมื่ออายุประมาณ 30-36 เดือน (2 ปีครึ่ง - 3 ปี) ขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ปกติตั้งท้องนานประมาณ 95-105 วัน ตกลูกครั้งละ 2-5 ตัว จากนั้นแม่เสือจะเลี้ยง ลูกเสือจนโตเป็นหนุ่มสาว จนอายุประมาณ 2 ปี ก็จะแยกย้ายกันไป
อาหาร เสือโคร่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินสัตว์ทุกชนิดที่จับได้ แต่หมูป่ากับกวางเป็นสัตว์ที่ชอบกินมาก
อายุขัย ประมาณ 15-20 ปี


back